การดำเนินงาน มชช.ศรีสะเกษ
คลิกเพื่อดูรายละเอียด การดำเนินงาน มชช.ศรีสะเกษ
ระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)
ระบบมาตรฐานงานชุมชน เรียกโดยย่อว่า “ มชช. ” เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภท ได้แก่ ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และชุมชน ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยการเรียนรู้ตนเอง กำหนดทิศทางการพัฒนา ดำเนินการพัฒนา และประเมินผลความสำเร็จด้วยตนเอง โดยมีฐานคิดสำคัญว่า “ มชช. ไม่ใช่การประกวด ของดีที่มีอยู่ แต่เป็นการพัฒนาที่แข่งขันกับตัวเอง เพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง โดยมีหน่วยงานภาคีเป็นผู้สนับสนุนในส่วนที่เกินขีดความสามารถเท่านั้น ” ระบบนี้ สามารถทำให้ชุมชนตอบสังคมได้ว่า “ การเป็นคนคุณภาพ และชุมชนเข้มแข็งเป็นอย่างไร ” และถือเป็น “ เครื่องชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ”
í หลักการสำคัญ
1. การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของ ชุมชนเป็นผู้รับประโยชน์
2. ชุมชนมีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง
3. เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง
4. เน้นความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชน
5.ความร่วมมือและการยอมรับเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานของภาคีการพัฒนา
ฐานคิดสำคัญ
* คุณลักษณะของชุมชนตามวาระแห่งชาติ
– ขีดความสามารถทางการแข่งขัน
– การพัฒนาทุนทางสังคม
– การพัฒนาอย่างยั่งยืน
– ความยากจนและการกระจายรายได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนและชุมชน ใช้เป็นเครื่องมือสร้าง
กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปสู่ความเข้มแข็ง
2. เพื่อให้ภาคีการพัฒนาใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดย
มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง
คู่มือแนวทางการดำเนินงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน