ข้อมูลการดำเนิน กทบ.ศรีสะเกษ
สรุปข้อมูลสำหรับผู้บริหาร
โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
๑. ผลการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
๑.๑ ข้อมูลทั่วไป
จำนวนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองรวม จำนวน ๒,๖๖๙ กองทุน แยกเป็น
– กองทุนหมู่บ้าน จำนวน ๒,๖๓๓ กองทุน
– กองทุนชุมชนเมือง จำนวน ๓๖ กองทุน
๑.๒ เป้าหมายในการดำเนินการโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
– กองทุนหมู่บ้านที่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ จำนวน ๒,๖๖๖ กองทุน
– กองทุนที่ไม่สามารถยื่นขอรับการสนับสนุนงบประมาณฯได้ เนื่องจากไม่สามารถจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ จำนวน ๓ กองทุน ดังนี้
๑) กองทุนชุมชนท่าเรือ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
๒) กองทุนชุมชนวัดเลียบผดุงธรรม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
๓) กองทุนหมู่บ้านศรีพนา หมู่ที่ 3 ตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ
สาเหตุที่ไม่สามารถจดทะเบียนได้
– คณะกรรมการฯ มีปัญหาการทุจริตเงินกองทุนฯ ไม่ส่งมอบเอกสารการดำเนินงานกองทุนฯ
– คณะกรรมการกองทุนฯ และสมาชิกไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการแก้ปัญหา
– สมาชิกค้างชำระหนี้กองทุนฯ เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการกองทุนฯ ดำเนินการ
– สมาชิกกองทุนฯ อพยพไปใช้แรงงานนอกพื้นที่จังหวัด ไม่สามารถเรียกประชุมกองทุน ได้ และที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เลี้ยงดูบุตร หลานที่บ้าน ไม่รู้เรื่องการดำเนินงาน
– ปัจจุบัน สทบ.ร่วมกับคณะอนุกรรมการสนับสนุนฯ ระดับอำเภอ ได้เข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะกรรมการและสมาชิก และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงาน
๑.๓ สรุปผลการยื่นขอรับงบประมาณฯ และการโอนเงินงบประมาณ โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
๑) กองทุนหมู่บ้านที่ยื่นขอรับงบประมาณฯ จำนวน ๒,๔๗๘ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๙๕ คงเหลือ ๑๘๘ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๕
๒) กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับโอนงบประมาณฯ จำนวน ๒,๑๑๑ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๑๘ คงเหลือที่ยังไม่โอนงบประมาณ จำนวน ๓๖๗ กองทุน
๒. การดำเนินงานโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แนวคิดประชารัฐ
ความเป็นมา
เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคการเกษตรของประเทศไทยประสบปัญหาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง และปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ เป็นต้น โดยสาเหตุประการหนึ่งมาจากระบบโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา ตลอดจนยังขาดปัจจัยการผลิตที่จำเป็น ดังนั้น การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับฐานราก ซึ่งครอบคลุมทั้งกระบวนการตั้งแต่กิจกรรมด้านการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการตลาด จะส่งผลให้ชุมชนพัฒนาอย่างมั่นคงแข็งแรงต่อไป
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/๒๕๕9 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ๒๕๕9 เห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 ให้ดำเนินการโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อเพิ่มปริมาณการลงทุนในระดับชุมชนผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 79,556 กองทุน ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ภายใต้วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน และเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทาการเกษตรเป็นต้น
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ความต้องการของหมู่บ้านและชุมชน
๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
๓. เพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มุ่งเน้นทั้งภาคการผลิต การแปรรูป และการตลาดอย่างครบวงจร และการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านและชุมชนให้ดีขึ้น
๔. เพื่อเสริมสร้างและปลูกจิตสำนึกในการบริหารงบประมาณ ดำเนินการกิจกรรมร่วมกัน
ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
๕. ซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ และจัดการโดยประการอื่น
ซึ่งทรัพย์สินใด ๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
๖. ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน อันเกิดจากการดำเนินโครงการ
๗. กู้ยืมเงิน นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินอื่น ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙