ศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คู่มือศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดาวน์โหลด
ข้อมูล ศรช.ศรีสะเกษ
สรุปผลการจัดระดับ
สรุผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองกอง
ข้อมูลทั่วไป
จัดตั้งขึ้นจากผลการจัดเวทีประชาคมเพื่อวางแผนวิเคราะห์แก้ไขปัญหาของชุมชนในการจัดทำแผนชุมชน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕56 มีพื้นที่ทั้งหมด 4 ไร่ แบ่งเป็นโรงปุ๋ยอินทรีย์ 1 งาน ศูนย์ข้อมูลชุมชน 1 หลัง ขนาด 1 งาน โรงเรือนรวม 1 หลังแยกเป็น โรงเพาะเห็ดฟาง 1 โรง คอกไก่บ้าน 1 โรง คอกไก่ไข่ 1 โรง คอกหมูหลุม 1 คอก ธนาคารจุลลินทรีย์ไว้บริการชุมชน 1 โรง แปลงปลูกผักเพื่อการสาธิตต่างๆหลายประเภท บ่อปลาดุก 2 บ่อ เพื่อใช้น้ำในการรดผัก และมีแปลงนาข้าวสาธิต ขนาด 1 งาน
การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองกอง
กิจกรรมภายในศูนย์ เป็นศูนย์รวมของแหล่งเรียนรู้โดยรวบรวมข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การประกอบอาชีพ การลดการใช้สารเคมีโดยการใช้จุลลินทรีย์อีเอ็มเป็นองค์ประกอบในการผลิต กิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้(ทำน้ำยาเอนกประสงค์) ครัวชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง(สาธิตการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ น้ำอีเอ็ม สารไล่แมลง) ประหยัดพลังงาน(เตาถ่าน) การผลิตธูปสมุนไพรไล่ยุง โดยมีทีมวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่างๆ ตลอดจนแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์ประกอบด้วย ป้ายข้อมูลต่างๆ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการกลุ่มองค์กร/อาชีพ แผนที่หมู่บ้าน แผนผังชีววิถีหมู่บ้าน จุดเรียนรู้ภายในศูนย์เรียนรู้
กิจกรรมภายนอกศูนย์ มีกิจกรรมภายนอกศูนย์เรียนรู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้โดยชุมชน จำนวน 4 จุดเรียนรู้ ดังนี้
- จุดเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ/การเพาะเห็ดฟาง
- จุดเรียนรู้ด้านปศุสัตว์
- จุดเรียนรู้ด้านประมง
- จุดเรียนรู้ด้านการประหยัด/ออมทรัพย์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองกอง เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ที่หลากหลายและสามารถใช้เป็นศูนย์ถ่ายทอดและเรียนรู้ให้กับบุคคลที่สนใจในการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
- เป็นที่รวบรวมจุดเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ต่างๆในชุมชนเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้คนใน
หมู่บ้านและนอกหมู่บ้านเข้าถึงความรู้และใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
- เป็นสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเวทีประชาคม การประชุมเสวนา
การสาธิตกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ การจัดนิทรรศการ รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดนิทรรศการและกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆของหมู่บ้าน
- เป็นที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ที่รวบรวมมาจากเจ้าของภูมิปัญญา และแหล่งความรู้ที่มีใน
หมู่บ้าน
- เป็นสถานที่เปิดโอกาสให้ทุกๆคนในหมู่บ้านพบปะ พูดคุยสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความรู้ และจัด
กิจกรรมต่างๆเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน ให้มีความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรต่อกัน
- เป็นที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและ
นอกหมู่บ้าน อันเป็นทุนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน
๑. ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน
๑.๑ คณะกรรมการ
มีคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ จำนวน 15 คน โดยคณะกรรมการได้มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก โดยผ่านเวทีประชาคม มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี มีสมาชิกจากทุกครอบครัว โดยมีคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแกนในการดำเนินการจัดตั้ง คณะกรรมการประกอบด้วย
- นายสุคนธ์ ศรีชัย ประธานกรรมการ
- นายเปลี่ยน โวหาร รองประธาน
- 3. นายชาติชาย บุญผุย รองประธาน
- นายนันทสิทธิ์ ศรศรี เหรัญญิก
- นางสาวอัมพร โสภา ผู้ช่วยเหรัญญิก
- นายสุวิสิทธิ์ อมรสิทธิกุล เลขานุการ
- นายนิคม ศรีวงษ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
- นายสมชาย หนองเหล็ก กรรมการ
- นางสายทอง เย็นใจ กรรมการ
- นายเทียบ ศรพินิจ กรรมการ
- นายอลงกต ศรีชารัตน์ กรรมการ
- นายสุเวทย์ ศรีจักร กรรมการ
- นายสมบูรณ์ ไชยโคตร กรรมการ
- นางสาวศุภธิดา ศรีชารัตน์ กรรมการ
- นายสมบูรณ์ โสภาค กรรมการ
- นายบุญลอง งามศิริ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
- นายเรวัตร จันทร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
1.2 ข้อตกลงในการดำเนินงาน ใช้มติที่ประชุมและกำหนดข้อตกลงที่ชัดเจน
– มีข้อตกลง/ระเบียบกลุ่มที่ชัดเจน จากการจัดเวทีประชาคม โดยสมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดทำ
– มีกระบวนการทำงาน มีคณะกรรมการบริหารโดยสมาชิกคัดเลือก
1.3 การประชุมคณะกรรมการ
– มีการประชุมคณะกรรมการและสมาชิก เดือนละ 1 ครั้ง
1.4 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี
– จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง
1.5 สถานที่ทำงานของกลุ่ม
– มีอาคารที่ทำการ เป็นเอกเทศ บนเนื้อที่ 4 ไร่
1.6 กระบวนการทำงาน
มีการจัดทำแผนปฏิบัติการในการทำงานที่ชัดเจนและปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้
๒. ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร
๒.๑ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีเงินทุนจำนวน 40,000 บาท เพียงพอต่อการดำเนินการหมุนเวียนภายในศูนย์เรียนรู้
๒.๒ มีการจัดทำทะเบียน หลักฐาน ต่างๆที่สำคัญครบ เป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบได้ ได้แก่
– ทะเบียนสมาชิก / ทะเบียนคุมเงิน / รายรับ-รายจ่าย
๒.๓ การตรวจสอบบัญชีและหลักฐานทางการเงิน มีการตรวจสอบฯ โดยคณะกรรมการและมีบุคคลภายนอกมาร่วมตรวจสอบ และรายงาน
๒.๔ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการสะสมเงินทุนไว้กับกลุ่ม
เงินทุนดำเนินการของศูนย์ฯ ได้มาจากบุคคลและคณะที่มาศึกษาดูงานและบริจาคสมทบของสมาชิกไม่ได้มีการรวมหุ้นแต่อย่างใด ปัจจุบันมีเงินทุน 40,000 บาท